หลายคนถามว่า อาหารทางการแพทย์คืออะไร อาหารทางการแพทย์คือ อาหารที่มีสูตรพิเศษสำหรับผู้ป่วยเฉพาะโรคเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่ถูกต้องและเหมาะสมมากที่สุด และยังเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเกิดภาวะขาดสารอาหาร ซึ่งอาหารทางการแพทย์นั้น สามารถใช้เป็นอาหารหลักแทนอาหารในแต่ละมื้อได้
สำหรับผู้ที่รับประทานอาหารได้ตามปกติเช่น ผู้ป่วยอัมพาต
สำหรับผู้ป่วยที่ร่างกายไม่สามารถย่อยและรู้สึกดูดซึมอาหารได้ตามปกติเช่น ผู้ป่วยไตวายที่ต้องการอาหารที่จำกัดในเรื่องของปริมาณโซเดียมและโพแทสเซียม
สำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องจำกัดในเรื่องของอาหารที่มีน้ำตาลต่ำ
อาหารทางการแพทย์ยังสามารถใช้เป็นอาหารเสริมเพื่อเพิ่มพลังงานให้กับผู้ที่รับประทานอาหารเองได้ แต่ได้รับปริมาณพลังงานที่ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายเช่น ผู้สูงอายุ ที่มักจะมีปัญหาในเรื่องของการรับประทานอาหาร อาจมาจากร่างกายที่เกิดความเปลี่ยนแปลงปัญหาสุขภาพช่องปากและฟัน ทำให้รู้สึกเบื่ออาหารผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่สามารถรับประทานอาหารเองได้ แต่มีความต้องการพลังงานเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
แต่อย่างไรก็ตามอาหารทางการแพทย์ไม่ได้มีจุดประสงค์ในการรักษาโรคหรือช่วยป้องกันโรคต่างๆได้ แต่เป็นการช่วยป้องกันปัญหาที่เกิดจากโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่หรือช่วยจัดการเกี่ยวกับโรคได้ง่ายขึ้นนั่นเอง และอาหารทางการแพทย์นั้นมีด้วยกันหลากหลายชนิดซึ่งต้องใช้ให้เหมาะสมกับผู้ป่วยเฉพาะโรคสำหรับ วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องของสูตรอาหารทางการแพทย์ว่ามีกี่ชนิด เพื่อที่จะได้เลือกใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสมมากที่สุด
สำหรับอาหารทางการแพทย์นั้น มีสูตรพิเศษเฉพาะและสามารถใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสมกับผู้ป่วย เพื่อช่วยให้ได้รับสารอาหารที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อโรคโดยมีด้วยกันหลายชนิดคือสูตรอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน สูตรอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการไม่สมบูรณ์ สูตรอาหารสำหรับผู้ที่มีระบบเผาผลาญผิดปกติและสุดท้ายสูตรน้ำที่สามารถให้ทางปาก ซึ่งทั้ง 4 สูตรที่กล่าวมานั้น มีความจำเป็นต่อผู้ป่วยที่มีความแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับโรค เนื่องจากร่างกายของแต่ละคนมีความต้องการสารอาหารที่แตกต่างกันและอาหารทางการแพทย์แต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันด้วย จึงไม่ควรซื้ออาหารทางการแพทย์มาใช้เองโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ เพราะร่างกายอาจจะได้รับสารอาหารที่ไม่สมดุล เช่น สำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการย่อยและการดูดซึมไขมันได้ไม่ดี ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีไขมันย่อยง่ายกว่าเป็นส่วนผสมและโรคบางโรคที่ต้องควบคุมร่างกายไม่ให้ได้รับสารอาหารบางอย่างมากจนเกินไป เช่นโรคไต ที่ต้องจำกัดปริมาณแร่ธาตุหลายตัวเช่น โซเดียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส
หากผู้ป่วยซื้ออาหารทางการแพทย์มารับประทานเอง อาจจะทำให้เป็นโทษร้ายแรงต่อร่างกายได้ รวมไปถึงเราจะต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับการเตรียมอาหารทางการแพทย์วิธีการชงและปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละมื้อโดยนักโภชนาการจะเป็นผู้แนะนำ หากอาหารมีความเข้มข้นที่มากหรือน้อยเกินไป ล้วนมีผลเสียต่อร่างกายทั้งสิ้น ถ้าส่วนผสมเจือจางมากร่างกายอาจได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอแต่ถ้าหากร่างกายรับปริมาณเข้มข้นมากเกินไปอาจทำให้ท้องเสียหรือได้รับสารอาหารบางตัวมากขึ้นความจำเป็นซึ่งก็จะมีผลต่อร่างกายเช่นเดียวกัน
นอกจากนี้อาหารทางการแพทย์ ถึงแม้จะมีหลายสูตร ให้เลือกทั้งแบบแบบน้ำซึ่ง ในปัจจุบันวิธีการใช้อาหารทางการแพทย์ค่อนข้างสะดวกและง่าย ถ้าเป็นแบบผงก็จะมีวิธีการชงที่ชัดเจนอยู่ข้างกระป๋อง เราควรอ่านฉลากก่อนใช้ โดยขนาดที่บรรจุส่วนใหญ่คือ 400 กรัมและ 1000 กรัม แต่สำหรับน้ำจะบรรจุอยู่ในกระป๋องขนาด 250 – 350 มิลลิลิตรและสามารถเก็บได้โดยไม่ต้องแช่เย็น เปิดรับประทานได้ทันที ทั้งนี้ก่อนใช้ควรได้รับคำแนะนำและวิธีการใช้จากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญหรือนักโภชนาการและควรอ่านได้ละเอียดข้างกระป๋องให้ชัดเจนทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัย แต่สำหรับผู้ที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและสามารถรับประทานอาหารได้เอง เคี้ยวกลืนได้ดี ได้รับสารอาหารหลักครบทั้ง 5 หมู่เป็นประจำและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ก็ไม่จำเป็นต้องรับประทานอาหารทางการแพทย์เพราะการรับประทานอาหารธรรมชาติที่มีคุณภาพดีอยู่แล้ว หรือรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ก็จะช่วยป้องกันการเกิดโรคต่างๆและช่วยลดความเสี่ยงได้เป็นอย่างดี
ทั้งนี้ยังช่วยทำให้อาหารทำานได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย เราอยากสนับสนุนให้ทุกคนเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์มีคุณภาพและปลอดภัยต่อร่างกาย เพื่อที่จะได้มีร่างกายที่แข็งแรง มีสุขภาพดี การรับประทานอาหารถือเป็นปัจจัยหลักของการเกิดโรคต่างๆ หากไม่ระมัดระวังอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาและผู้ป่วยต้องการอาหารทางการแพทย์หรือประสมทางเรามีบริการ อาหารทางสายยางมีความสะอาดปลอดภัยและได้มาตรฐานมีการควบคุมการผลิตโดยนักโภชนาการที่มีความเชี่ยวชาญจึงทำให้มั่นใจได้ว่าอาหารเรา มีความสะอาดปลอดภัยต่อผู้ป่วยมากที่สุด เพราะเราคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นหลัก เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการรับประทานอาหารทางสายยาง
อาหารสายยาง อาหารทางการแพทย์มีสูตรอะไรบ้าง อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://snss.co.th/อาหารทางสายยาง/