เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า โปรตีน เป็นสารอาหารหลักที่ร่างกายต้องการในปริมาณมากในแต่ละวันเช่นเดียวกับไขมันและคาร์โบไฮเดรต ส่วนวิตามินและแร่ธาตุนั้นเป็นสารอาหารรองที่ต้องการเพียงปริมาณเล็กน้อยต่อวัน นอกจากนี้ โปรตีนยังแตกต่างจากสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตและไขมันตรงที่ร่างกายของคนเราจะไม่สามารถเก็บสะสมโปรตีนไว้ใช้ในภายหลังได้อย่างคาร์โบไฮเดรตและไขมัน การได้รับสารอาหารโปรตีนอย่างครบถ้วนในแต่ละวันถือเป็นสิ่งสำคัญทีเดียว โดยปกติแล้วปริมาณโปรตีนที่ร่างกายของเราต้องการต่อวันนั้น ขึ้นอยู่กับอายุ เพศ สุขภาพ น้ำหนัก พฤติกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายและกิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน ซึ่งเป็นตัวกำหนดว่าในแต่ละวันควรได้รับพลังงานกี่แคลอรี่
สำหรับผู้หญิงสุขภาพดีโดยทั่วไปจะต้องการโปรตีนอย่างต่ำวันละ 50 กรัม ส่วนผู้ชายประมาณ 60 กรัม แต่หากรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูงก็อาจได้รับปริมาณมากกว่านั้น ทั้งนี้ ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพบางประการ เช่น ผู้ป่วยโรคไต อาจต้องการโปรตีนในปริมาณที่แตกต่างจากปกติ นอกจากนี้ผู้ป่วยบางรายยังมีความต้องการโปรตีนที่สูงมากกว่าปกติ ซึ่งอาหารทางการแพทย์สามารถตอบโจทย์ได้ เพราะอาหารทางการแพทย์ เป็นอาหารที่กำหนดในเรื่องของปริมาณสารอาหารแบบจำเพาะอยู่แล้ว และในวันนี้เราจะมาพูดถึงอาหารทางการแพทย์ สำหรับผู้ที่ต้องการโปรตีนสูง เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่จะไปซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอในร่างกายได้อย่างเต็มที่
สำหรับอาหารทางการแพทย์ที่เหมาะสำหรับกลุ่มผู้ที่ต้องการโปรตีนสูง ในอาหารทางการแพทย์ก็จะมีปริมาณโปรตีนที่สูงกว่าสูตรทั่วไปมาก และมีการเติมสารอาหารที่ช่วยส่งเสริมภูมิคุ้มกันและมีส่วนช่วยลดการอักเสบ จึงเหมาะกับผู้ป่วยที่มีความต้องการโปรตีนเพิ่มสูงขึ้นมาก เช่น โรคมะเร็ง ผู้ป่วยพักฟื้นจากการผ่าตัดใหญ่ ผู้ป่วยแผลไฟไหม้ บาดเจ็บรุนแรงเฉียบพลัน เป็นต้น ซึ่งอาหารทางการแพทย์สามารถช่วยในเรื่องนี้ได้ นอกจากนี้ โปรตีนอีกชนิดที่เริ่มนิยมรับประทานมากขึ้นในปัจจุบันก็คือโปรตีนผง โปรตีนแท่ง ซึ่งเป็นอาหารเสริมจากโปรตีนชนิดต่าง ๆ เช่น เวย์โปรตีน โปรตีนเคซีน หรือโปรตีนถั่วเหลือง เหล่านี้ต่างก็เป็นโปรตีนสมบูรณ์ โดยผู้ที่ไม่รับประทานสัตว์บางคนจะนิยมโปรตีนจากถั่วเหลืองมากกว่าชนิดอื่น แต่อาหารเสริมโปรตีนจากถั่วเหลืองบางชนิดอาจมีรสชาติที่ไม่พึงประสงค์นักและละลายได้ไม่ค่อยดีในน้ำ สำหรับข้อสงสัยที่ว่าโปรตีนเหล่านี้ควรรับประทานหรือไม่และให้ผลดีอย่างไร แท้จริงแล้วโปรตีนเสริมก็อาจมีประโยชน์ในบางกรณี เพราะเป็นโปรตีนที่สมบูรณ์และมีคุณภาพสูง ทว่าคนส่วนใหญ่หรือแม้แต่นักกีฬาเองก็รับสารอาหารโปรตีนได้อย่างครบถ้วนจากแหล่งอาหารทั่วไปอย่างเนื้อวัว หมู ไก่ ปลา ไข่ และผลิตภัณฑ์จากนมอยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้มีความจำเป็นเพียงบางกรณีเท่านั้นที่แนะนำให้ใช้โปรตีนเสริม
อย่างไรก็ตาม เราต้องคำนึงถึงผลที่จะตามมาด้วย ซึ่งการที่เรารับประทานโปรตีนมากเกินไป อาจจะส่งผลเสียต่อร่างกายได้ บางคนต้องการลดน้ำหนักจึงรับประทานคาร์โบไฮเดรตน้อยลงและเพิ่มปริมาณโปรตีนทดแทน แต่แท้จริงแล้วการลดคาร์โบไฮเดรตลงมากๆ กลับอาจส่งให้ร่างกายเกิดการต่อต้านและระบบการเผาผลาญเปลี่ยนแปลงไป โดยการรับประทานโปรตีนมากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ของแคลอรี่ที่ร่างกายต้องการจะสามารถทำให้เกิดการสร้างสารคีโตนที่เป็นพิษ จนไตต้องทำงานหนักเพื่อขับสารเหล่านี้ออกจากร่างกาย และยังเกิดการสูญเสียน้ำจำนวนมาก เสี่ยงต่อการเกิดภาวะร่างกายขาดน้ำ โดยเฉพาะเมื่อมีการออกกำลังกายอย่างหนัก อย่างไรก็ตาม การพิจารณาเลือกใช้อาหารทางการแพทย์จึงควรดูที่การยอมรับรสชาติของผู้ป่วยเป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยมะเร็ง อาจมีการรับรสชาติที่เปลี่ยนแปลงไปได้ ทำให้การยอมรับรสชาติและการบริโภคลดลง อาหารทางการแพทย์กลุ่มนี้สามารถปรับรสชาติด้วยการเติมน้ำผลไม้ เพื่อเปลี่ยนแปลงรสชาติ ก็อาจช่วยให้ผู้ป่วยยอมรับรสชาติได้มากขึ้น อย่างไรก็ตามต้องพึงระวังว่าการเติมน้ำผลไม้บางชนิดอาจทำให้โปรตีนในอาหารทางการแพทย์ตกตะกอน เกิดเป็นก้อน ไม่น่ารับประทานได้ ทางเราอยากให้ทุกคนเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อให้ร่างกายได้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง นอกจากนี้การออกกำลังกาย ก็ถือเป็นเรื่องที่ดีต่อสุขภาพ ดังนั้นนอกจากการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์แล้ว ก็ควรหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำด้วย เพื่อให้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ
อาหารสายยาง สำหรับผู้ที่ต้องการโปรตีนสูง/ส่งเสริมภูมิคุ้มกัน อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://snss.co.th/อาหารทางสายยาง/