ผู้เขียน หัวข้อ: สัญญาณเตือนโรคไต พฤติกรรมเสี่ยงที่ควรเลี่ยง !  (อ่าน 11 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 600
  • ผู้ผลิตสินค้าอุตสาหกรรม โพสฟรี
    • ดูรายละเอียด
สัญญาณเตือนโรคไต พฤติกรรมเสี่ยงที่ควรเลี่ยง !
« เมื่อ: วันที่ 18 พฤศจิกายน 2024, 15:24:51 น. »
สัญญาณเตือนโรคไต พฤติกรรมเสี่ยงที่ควรเลี่ยง !

ไต อวัยวะส่วนหนึ่งในร่างกายที่มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่วเหลือง จะอยู่บริเวณกระดูกชายโครงทั้ง 2 ข้าง มีหน้าที่ในการขับของเสียที่เกิดขึ้นจากการเผาผลาญสารอาหารต่าง ๆ รวมไปถึงมีหน้าที่ในการรักษาสมดุลของน้ำและเกลือแร่ สร้างสารที่มาควบคุมความดันเลือด และกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง ดังนั้น ไต จึงเป็นอวัยวะอีกหนึ่งส่วนที่มีความสำคัญ ที่จะต้องได้รับการดูแลทั้งเรื่องอาหารและพฤติกรรมต่าง ๆ ที่อาจส่งผลให้การทำงานของไตนั้นมีประสิทธิภาพลดลงจนไตล้มเหลวได้ ดังนั้นควรสังเกตุ สัญญาณเตือนโรคไต ให้ดี

สัญญาณเตือนโรคไตรู้ก่อนรักษาก่อน

สัญญาณเตือนโรคไต คือ ปัสสาวะผิดปกติ เบื่ออาหาร เหนื่อยง่ายอ่อนเพลีย ใบหน้าซีด ปวดหลังหรือบั้นเอวข้างใดข้างหนึ่ง เป็นอาการเสี่ยงโรค ไต ที่สุด
สัญญาณเตือนโรคไต ระยะเริ่มต้น

    ปัสสาวะเป็นเลือด
    ปัสสาวะเป็นฟอง
    ปัสสาวะช่วงกลางคืนบ่อยครั้ง
    อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
    มีอาการบวมบนใบหน้าและเท้า
    เบื่ออาหาร
    มีอาการขมปาก ขมคอ ไม่สามารถรับประทานอาหารได้

สัญญาณเตือนโรคไต คือ ปัสสาวะผิดปกติ เบื่ออาหาร เหนื่อยง่ายอ่อนเพลีย ใบหน้าซีด ปวดหลังหรือบั้นเอวข้างใดข้างหนึ่ง เป็นอาการเสี่ยงโรค ไต ที่สุด
พฤติกรรมเสี่ยงเป็น โรคไต

1.    รับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูง

อาหารที่มีโซเดียมสูงเกินไปนอกจากจะมีผลต่อการทำงานของไตแล้วยังส่งผลให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคความดันโลหิตสูงหรือเส้นเลือดสมองแตก


2.    รับประทานอาหารสำเร็จรูป

อาหารสำเร็จรูปหรืออาหารกระป๋อง เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ส่วนใหญ่จะมีปริมาณโซเดียมมากกว่าปกติทำให้มีความเสี่ยงต่อการทำงานของไต


3.    ดื่มน้ำน้อย

การดื่มน้ำน้อยทำให้ปัสสาวะมีสีที่เข้มมากขึ้นส่งผลให้ร่างกายมีภาวะขาดน้ำจนทำให้ไตต้องทำงานหนัก อาจเสี่ยงภาวะไตวายและโรคระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น นิ่วในทางเดินปัสสาวะ และติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น


4.    น้ำหนักมากเกินไป

ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักมากจนเกินไปก่อให้เกิดโรคอ้วนซึ่งจะมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนอย่างเบาหวานและความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้ป่วยที่มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ ซึ่งโรคเหล่านี้เป็นสาเหตุของโรคไต


5.    ซื้อยารับประทานเอง

การซื้อยามารับประทานเพื่อบรรเทาอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในร่างกายจากร้านขายยาไม่ว่าจะเป็นยาแผนปัจจุบันหรือยาสมุนไพรบางชนิดอาจมีผลข้างเคียงที่ก่อให้เกิดโรคไตได้ จำเป็นต้องมีการปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนรับประทานยาทุกครั้งโดยเฉพาะการกินต่อเนื่อง


6.    ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว

ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ไม่ต่อเนื่องอาจมีความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคไตตามมาได้


ไตวายเรื้อรัง จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็น ?

สัญญาณเตือนโรคไต คือ ปัสสาวะผิดปกติ เบื่ออาหาร เหนื่อยง่ายอ่อนเพลีย ใบหน้าซีด ปวดหลังหรือบั้นเอวข้างใดข้างหนึ่ง เป็นอาการเสี่ยงโรค ไต ที่สุด


วิธีป้องกันโรคไตเบื้องต้น

    ตรวจสุขภาพเป็นประจำ
    หลีกเลี่ยงอาหารกึ่งสำเร็จรูปหรือขนมขบเคี้ยว
    หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มจัด หวานจัด
    ดื่มน้ำเปล่าอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว
    หลีกเลี่ยงการรับประทานยาติดต่อกันนาน ๆ โดยเฉพาะกลุ่มยาแก้อักเสบแก้ปวด
    ปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนใช้ยา
    ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

โรคไต ในระยะเริ่มต้นอาจไม่มีอาการแสดงออกมาให้เห็น แต่ไม่ควรมองข้ามหากมีความเสี่ยงหรือพฤติกรรมที่เคยชินที่อาจส่งผลต่อการทำงานของไต เช่น รับประทานอาหารที่มีรสเค็มจัด ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และมีโรคประจำตัว ดังนั้นเพื่อป้องกันสุขภาพการทำงานของไตจึงต้องมีการตรวจสุขภาพประจำปีหาความเสี่ยงของโรคไตในระยะเริ่มต้นเพื่อให้รักษาได้ทันท่วงทีและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของไตลดลง