ผู้เขียน หัวข้อ: โรคหัวใจโต อันตรายไหม? สาเหตุ อาการ และแนวทางการรักษา  (อ่าน 22 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1028
  • ผู้ผลิตสินค้าอุตสาหกรรม โพสฟรี
    • ดูรายละเอียด
โรคหัวใจโต อันตรายไหม? สาเหตุ อาการ และแนวทางการรักษา

หัวใจโต มักไม่แสดงอาการในระยะแรก ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้ตัวจนโรครุนแรงขึ้น การรับรู้อาการได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบที่ยากต่อการรักษาในอนาคต

หัวใจโต อันตรายไหม? สาเหตุ อาการ และแนวทางการรักษา

หัวใจโต เป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่หลายคนไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้นกับตัวเอง เนื่องจากภาวะนี้มักไม่แสดงอาการให้เห็นในระยะแรกเริ่ม ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้ตัวจนกระทั่งโรคพัฒนาไปสู่ขั้นที่รุนแรงขึ้นจนนำไปสู่การเสียชีวิตได้ โดยสาเหตุสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือแม้แต่ความผิดปกติของลิ้นหัวใจ ซึ่งหากไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัย และรักษาอย่างได้ทันท่วงทีจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ อาจนำไปสู่การเกิดปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของหัวใจอย่างรุนแรง ดังนั้นการสังเกต และรับรู้อาการของโรคตั้งแต่เนิ่น ๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม ด้วยเหตุนี้ โรงพยาบาลสินแพทย์ จึงขอพาทุกมาเจาะลึกถึงรายละเอียดของโรคหัวใจโต ทั้งสาเหตุ วิธีสังเกตสัญญาณเตือน เพื่อป้องไม่ให้เกิดผลกระทบที่ยากต่อการรักษาในอนาคต


หัวใจโต คืออะไร?

หัวใจโต (Cardiomegaly) คือ ภาวะที่หัวใจมีการขยายตัวใหญ่ขึ้นจากขนาดปกติ ทำให้บริเวณหัวใจสูบฉีดเลือดไปยังอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกายได้ลดน้อยลง ส่งผลให้เกิดอาการหายใจลำบาก รู้สึกเหนื่อยง่าย ใจสั่น รวมถึงอวัยวะต่าง ๆ เกิดการบวม เช่น ข้อเท้า ขา และบริเวณช่องท้อง เป็นต้น โดยภาวะนี้ควรได้รับการวินิจฉัย และรับการรักษาจากแพทย์ในทันที เพราะหากผู้ป่วยละเลยหรือปล่อยทิ้งไว้โดยไม่เข้ารับการรักษา อาจมีผลร้ายแรงต่อปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น การทำงานของหัวใจบกพร่อง หรือเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว รวมถึงโรคทางหลอดเลือดสมอง เป็นต้น

อาการของหัวใจโต

อาการหัวใจโต สัญญาณเตือนที่ไม่ควรมองข้าม

อาการหัวใจโต บางครั้งอาจไม่มีอาการชัดเจนในระยะแรก แต่เมื่อภาวะของโรครุนแรงขึ้น จะแสดงการทำงานของหัวใจที่มีความผิดปกติ มีสัญญาณเตือนที่ปรากฏได้หลายรูปแบบดังนี้
เหนื่อยง่าย

เหนื่อยง่าย เป็นอาการที่บ่งบอกว่าหัวใจมีการขยายตัว จนไม่สามารถสูบเลือดเพื่อไปหล่อเลี้ยงที่อวัยวะต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยจะสังเกตเห็นได้ว่าไม่สามารถทำกิจกรรมเต็มที่ได้เท่าเมื่อก่อน แม้จะเป็นเพียงแค่การเดินหรือการขึ้นบันได


หายใจลำบาก

หายใจลำบาก เป็นอาการที่จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกหายใจได้ไม่เต็มท้องหรือหายใจได้ไม่สะดวก รู้สึกเหนื่อยหอบ อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างวัน หรือในขณะที่นอนหลับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนอนในลักษณะราบกับพื้น


ใจสั่น

ใจสั่น เป็นอาการที่เกิดจากการที่หัวใจไม่สามารถเต้นในอัตราปกติ ผู้ป่วยอาจรู้สึกได้ถึงหัวใจที่เต้นอย่างรวดเร็ว รวมถึงเต้นในจังหวะที่ไม่สม่ำเสมอกันบริเวณหน้าอก
บวมที่อวัยวะต่าง ๆ

บวมที่อวัยวะต่าง ๆ เป็นอาการที่เกิดจากการที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงได้อย่างเต็มที่ ทำให้เกิดเลือดคั่งบริเวณส่วนล่างของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณขา และข้อเท้า

สาเหตุของภาวะหัวใจโต มีอะไรบ้าง?

สาเหตุของภาวะหัวใจโตสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย โดยอาจเป็นผลกระทบจากปัญหาสุขภาพดังต่อไปนี้

โรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง เป็นหนึ่งในสาเหตุต้น ๆ ของโรคหัวใจโต เพราะเมื่อร่างกายมีความดันโลหิตสูง ทำให้หัวใจต้องทำงานอย่างหนักเพื่อพยายามสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงบริเวณส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เป็นเหตุที่ทำให้ห้องหัวใจเกิดการขยายตัวใหญ่ขึ้น รวมถึงกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอลง หากไม่ได้รับการควบคุมระดับความดันให้เหมาะสม อาจส่งผลทำให้หัวใจล้มเหลวได้ในที่สุด


โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ

โรคกล้ามเนื้อหัวใจเต้นผิดปกติ เป็นภาวะที่เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ รวมถึงมีการขยายตัวหรือมีการก่อตัวที่หนามากขึ้น ทำให้หัวใจเกิดการบีบตัว และทำงานอย่างหนักเพื่อพยายามสูบฉีดเลือด

โรคลิ้นหัวใจ

โรคลิ้นหัวใจ เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติบริเวณลิ้นหัวใจ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่มีบทบาทสำคัญในการควบคุมการไหลเวียนเลือด เมื่ออวัยวะส่วนนี้มีความบกพร่องหัวใจจึงต้องพยายามสูบฉีดเลือดมากขึ้น ซึ่งนำไปสู่การขยายตัวของหัวใจได้ในท้ายที่สุด

ภาวะความดันหลอดเลือดในปอดสูง

ภาวะความดันหลอดเลือดในปอดสูง เป็นภาวะที่ความดันของหลอดเลือดแดงในปอด มีระดับที่สูงกว่า 25 มิลลิเมตร ทำให้หัวใจกับปอดทำงานหนักมากขึ้น เพื่อพยายามสูบฉีดเลือด และแลกเปลี่ยนออกซิเจน ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ห้องหัวใจเกิดการขยายตัว หากไม่ได้รับการรักษาที่รวดเร็ว อาจเป็นอันตรายร้ายแรงต่อผู้ป่วยถึงขั้นเสียชีวิตได้


ภาวะต่อมไทรอยด์ผิดปกติ

ภาวะต่อมไทรอยด์ผิดปกติ เช่น ไทรอยด์เป็นพิษหรือไทรอยด์ต่ำ เป็นภาวะที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติของฮอร์โมนไทรอยด์ที่มีการหลั่งออกมาในปริมาณที่มากเกินไป หรือน้อยเกินไป ทำให้หัวใจเต้นเร็วหรือเต้นผิดจังหวะ ซึ่งนำไปสู่ภาวะหัวใจโตได้ในที่สุด


ภาวะเลือดจาง

ภาวะเลือดจาง คือ ความผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือกแดงที่ไม่สามารถนำส่งออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างเต็มที่ ห้องหัวใจจึงต้องทำงานหนักมากขึ้นเพื่อให้เลือดได้ไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้เพียงพอ และอาจส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจโตขึ้นได้


ภาวะธาตุเหล็กเกิน

ภาวะธาตุเหล็กเกิน เป็นภาวะที่ร่างกายได้รับธาตุเหล็กเกินพอดี จนไม่สามารถนำออกมาใช้ได้หมด ทำให้เกิดการสะสมที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งรวมถึงบริเวณหัวใจด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นสาเหตุของกล้ามเนื้อหัวใจที่อ่อนแอลง และทำให้ห้องหัวใจล่างซ้ายขยายใหญ่ได้

วิธีวินิจฉัยหัวใจโต ตรวจอย่างไรให้แน่ใจ?

วิธีวินิจฉัยหัวใจโต แพทย์จะทำการตรวจ ดังนี้

    ซักถามประวัติที่เกี่ยวข้องกับโรคประจำตัว อาการที่เกิดขึ้น และประวัติทางการแพทย์ของบุคคลในครอบครัว
    ตรวจเอกซเรย์รังสีบริเวณทรวงอก เพื่อสังเกต และประเมินลักษณะของหัวใจ และปอด
    ตรวจเอกซเรย์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ (CT scan) เพื่อตรวจวัดลักษณะของหัวใจ รวมถึงลักษณะความผิดปกติของการไหลเวียนเลือด
    ตรวจหัวใจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อตรวจวัดจังหวะการเต้นของหัวใจ รวมถึงตรวจลักษณะความผิดปกติของห้องหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ และบริเวณลิ้นหัวใจ
    ตรวจหัวใจด้วยคลื่นความถี่ (Echocardiogram) เพื่อตรวจวัดลักษณะของหัวใจ รวมถึงลักษณะการทำงานของลิ้นหัวใจ และการไหลเวียนเลือด


วิธีรักษาหัวใจโต มีอะไรบ้าง?

วิธีรักษาหัวใจโต สามารถแบ่งออกเป็นรูปแบบดังนี้

การรักษาด้วยยา

การรักษาด้วยยา มักเกิดขึ้นในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะหัวใจโตจากสาเหตุของโรคต่าง ๆ โดยแพทย์จะทำการสั่งจ่ายยาเพื่อรักษาอาการ เช่น

    ยาขับปัสสาวะ เพื่อลดปริมาณน้ำหรือโซเดียมส่วนเกิน โดยการขับน้ำออกจากร่างกายจะช่วยลดอาการบวมที่เกิดขึ้นบริเวณอวัยวะส่วนล่าง เช่น ขาและข้อเท้า
    ยากลุ่ม ACE Inhibitor (ACEI) เพื่อลดระดับความดันโลหิต ซึ่งจะทำให้หัวใจสามารถสูบฉีดเลือดได้ตามปกติ
    ยากลุ่ม Angiotensin Receptor Antagonists (ARBs) เพื่อลดระดับความโลหิต ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถใช้ยากลุ่ม ACE Inhibitor (ACEI) ได้
    ยากลุ่มเบต้า บล็อกเกอร์ (Beta-Blockers) เพื่อช่วยควบคุมให้ความดันโลหิตและควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจให้อยู่ในระดับที่ปกติ
    ยา Digoxin เพื่อใช้ควบคุมการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ ให้อยู่ในระดับที่คงที่

การรักษาด้วยกระบวนการทางการแพทย์

การรักษาด้วยกระบวนการทางการแพทย์ อาจเกิดขึ้นในกรณีที่หัวใจของผู้ป่วยเกิดการเต้นผิดปกติอย่างรุนแรง แพทย์อาจทำให้ฝังอุปกรณ์เพื่อควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ หรือฝังเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าเพื่อคอยจับจังหวะ ซึ่งหากหัวใจเต้นผิดปกติ เครื่องจะทำการส่งกระแสไฟฟ้าออกมาเพื่อทำการกระตุ้นให้หัวใจทำงานได้ตามปกติ ซึ่งการรักษาแบบนี้รวมไปถึงโรคหัวใจอื่น ๆ อย่างการผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจ การผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ และการผ่าตัดหัวใจเทียม เป็นต้น


หัวใจโต ป้องกันได้หรือไม่?

หัวใจโต สามารถป้องกันได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพียงปรับพฤติกรรมที่อาจบั่นทอนสุขภาพร่างกายได้ เช่น การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์ และหลีกอาหารที่มีไขมันสูงเพื่อป้องกันการเกิดโรคที่ส่งผลต่อหัวใจ หากมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ ควรทำการตรวจสุขภาพประจำปีอยู่เสมอ เพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรง และป้องกันความเสี่ยงของการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ในระยะยาว


อาการหัวใจโตสังเกตได้อย่างไร?

อาการหัวใจโต สามารถสังเกตได้จากประสิทธิภาพการใช้ชีวิตที่ลดน้อยลง เช่น เหนื่อยหอบง่าย หายใจไม่สะดวก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องนอนราบกับพื้น รวมถึงอาการแน่นหน้าอก ใจสั่น ซึ่งหากเกิดขึ้นบ่อย ๆ และมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษาให้ทันท่วงที


หัวใจโตเกิดจากอะไร?

หัวใจโต สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ทั้งโรคประจำตัวอย่าง โรคความดัน โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติโรคลิ้นหัวใจ รวมถึงภาวะของผิดปกติของความดันหลอดเลือดในปอด ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ ภาวะเลือดจาง และภาวะธาตุเหล็กเกิน เป็นต้น


หัวใจโตต้องรักษาด้วยวิธีไหน?

หัวใจโต สามารถรักษาได้หลายวิธีโดยขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ ทั้งการใช้ยารักษาโรคตามต้นเหตุ รวมถึงการติดอุปกรณ์ที่ช่วยควบคุมการทำงานของหัวใจ และการผ่าตัดเพื่อรักษาโรคหัวใจโต เช่น การผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจ การผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ และการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ เป็นต้น