ผู้เขียน หัวข้อ: รถแลกเงิน: "โดนทุบรถ" ประกันก็ไม่ได้ต่อ เงินเก็บก็ไม่มี...แล้วจะหาสินเชื่อจากไหน  (อ่าน 84 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 499
  • ผู้ผลิตสินค้าอุตสาหกรรม โพสฟรี
    • ดูรายละเอียด
รถแลกเงิน: "โดนทุบรถ" ประกันก็ไม่ได้ต่อ เงินเก็บก็ไม่มี...แล้วจะหาสินเชื่อจากไหนมาซ่อมรถดี

โอ๊ยเครียด!! อยู่ๆ ก็ "โดนทุบรถ" ซึ่งอาจเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของตัวเราเอง ไปจอดรถในที่ที่ไม่ควรจอด จึงทำให้คนที่ไม่พอใจ หรือได้รับความเดือนร้อนจากการจอดรถผิดที่ของเรา นำค้อน ไม้ หรือก้อนหินมาทุบรถเรา ทำให้เกิดความเสียหาย โดยเหตุการณ์ฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุแบบนี้ย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ ซ้ำร้ายถ้าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในช่วงที่รถเราหมดประกันพอดี และยังไม่ได้มีการต่อประกันภัยรถยนต์ เงินเก็บที่จะเอาออกมาใช้จ่ายยามฉุกเฉินก็ไม่มี ส่งผลทำให้เราตกอยู่ในภาวะวิกฤตทางการเงินขาดสภาพคล่อง รถก็ต้องใช้ในการประกอบอาชีพ ไม่ซ่อมก็ไม่ได้ คำถามที่ตามมาคือ...เราจะหาเงินจากที่ไหนมาซ่อมรถ ที่สามารถผ่อนส่งได้ ดอกเบี้ยถูก อนุมัติเร็ว เบิกถอนที่ไหนก็ได้

แหล่งเงินกู้ที่สามารถนำมาใช้ยามฉุกเฉิน ปัจจุบันก็มีอยู่มากมายหลายแหล่ง ไม่ว่าจะเป็นการกู้เงินจากสถาบันการเงินต่างๆ เช่น ธนาคาร หรือบริษัทไฟแนนซ์ ต่างก็มีผลิตภัณฑ์เงินกู้ฉุกเฉินออกมาบริการให้กับลูกค้าที่มีความจำเป็นใช้เงินทุกคน แต่สิ่งที่ต้องบอกและย้ำกันอยู่เสมอในทุกๆ การกู้เงินนั้น แหล่งเงินกู้ที่เราไม่ควรข้องเกี่ยวนั่นก็คือ "เงินกู้นอกระบบ" เพราะนอกจากจะทำให้เราต้องจ่ายดอกเบี้ยในจำนวนที่มากสุด โหดสุดแล้ว อาจจะทำให้เรามีปัญหาทางการเงินวนเวียนแบบไม่รู้จบก็เป็นได้ ดังนั้น วันนี้จะขอนำเสนอทางเลือกในการกู้เงินฉุกเฉินยามจำเป็น ที่ได้รับดอกเบี้ยในอัตราต่ำ สามารถผ่อนชำระได้ในระยะยาว เบิกถอนง่าย อนุมัติเร็ว และตอบโจทย์ทุกการใช้เงิน

ประเภทเงินกู้แบบไหน...น่าสนใจที่สุดสำหรับวงเงินฉุกเฉิน?

จากเหตุการณ์ "โดนทุบรถ" ข้างต้น เงินกู้ที่เหมาะสำหรับเป็นทางเลือกก็คือ "สินเชื่อบุคคล" ซึ่งสินเชื่อบุคคลนี้เป็นสินเชื่อที่สถาบันการเงินบริการให้แก่บุคคลธรรมดาเอาไปซื้อสินค้าและบริการเพื่อการบริโภค โดยไม่ต้องมีหลักประกัน และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท. (ธนาคารแห่งประเทศไทย) สินเชื่อบุคคลนี้ก็มีอยู่หลายรูปแบบ เช่น (1)ทำสัญญาและรับเงินไปทั้งก้อน (2)ทำสัญญาเพื่อรับวงเงินหมุนเวียนแล้วใช้ บัตรกดเงินสด ทยอยกดเงินออกมาเท่าที่ต้องการจะใช้ในแต่ละครั้ง หรือ (3)ทำสัญญาเช่าซื้อสินค้าเป็นรายชิ้น โดยสถาบันการเงินหรือผู้ให้สินเชื่อสามารถอนุมัติวงเงินให้ผู้ขอสินเชื่อแต่ละรายได้ไม่เกิน 5 เท่าของรายได้เฉลี่ยต่อเดือน หรือเงินสดหมุนเวียนในบัญชีเงินฝากเฉลี่ยย้อนหลังไม่น้อยกว่า 6 เดือน ซึ่งสถาบันการเงินหรือผู้ให้สินเชื่อจะเป็นคนกำหนดว่ารายได้หรือเงินสดหมุนเวียนในบัญชีเฉลี่ยเท่าไหร่ถึงจะรับพิจารณาอนุมัติสินเชื่อให้


สำหรับอัตราดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมต่างๆ รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 28% ต่อปี โดยคำนวณดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก อีกทั้งสถาบันการเงินผู้ให้สินเชื่ออาจเรียกเก็บค่าใช้จ่ายอื่นตามที่จ่ายจริงและเห็นสมควรได้ เช่น ค่าติดตามทวงถามหนี้ ค่าอากรแสตมป์ เป็นต้น

รายละเอียดของสินเชื่อทางเลือกสำหรับคนที่ต้องการเงินด่วน!!

1. สินเชื่อส่วนบุคคล (รับเงินไปทั้งก้อน)
เป็นสินเชื่อที่เมื่อได้รับการอนุมัติวงเงินแล้ว สถาบันการเงินผู้ให้สินเชื่อจะโอนเงินกู้ทั้งจำนวนเข้าบัญชีของผู้กู้ และผู้กู้จะต้องทยอยผ่อนชำระเป็นงวดๆ งวดละเท่าๆ กัน เป็นการกำหนดงวดชำระอย่างชัดเจน เช่น 6 เดือน 12 เดือน หรือ 24 เดือน เป็นต้น จนครบตามกำหนดเงื่อนไขในสัญญา โดยทางสถาบันการเงินผู้ให้กู้จะเริ่มคิดดอกเบี้ยทันทีที่จำนวนเงินถูกโอนเข้าบัญชี ซึ่งจะเป็นการคิดคำนวณดอกเบี้ยเป็นรายวันแบบลดต้นลดดอก ถึงแม้ผู้กู้จะยังไม่ได้มีการถอนเงินออกมาใช้ก็ตาม

2. สินเชื่อบัตรกดเงินสด (ทยอยกดเงินออกมาใช้เท่าที่ต้องการ)
เป็นการใช้บัตรที่มีลักษณะการใช้งานเหมือนกับบัตร ATM ด้วยการเบิกถอนเงินสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติตามวงเงินที่กำหนดจากการนำบัตรสินเชื่อไปกดเงินออกจากตู้ ATM ได้ทันที ซึ่งสินเชื่อ บัตรกดเงินสด นี้จะมีการคิดดอกเบี้ยจากวงเงินที่เรากดออกมาใช้ คำนวณแบบลดต้นลดดอก กดมาเท่าไหร่ก็คิดดอกเบี้ยตามวงเงินที่กดออกมาเท่านั้น หรือที่เข้าใจกันว่า "ไม่ใช้ ก็ไม่เสีย" นั่นเอง

3. สินเชื่ออเนกประสงค์แบบมีหลักประกัน
เป็นสินเชื่อที่ผู้ขอสินเชื่อต้องเอาทรัพย์สินมาเป็นหลักประกันในการกู้เงิน เช่น ที่อยู่อาศัย รถยนต์ บัญชีเงินฝาก บำเหน็จตกทอด พันธบัตร เป็นต้น ซึ่งวงเงินที่ได้รับอนุมัติจะขึ้นอยู่กับการพิจารณาจากหลักประกันตามมูลค่าตลาด ณ เวลานั้น ร่วมกับความสามารถในการผ่อนชำระ และระยะเวลาการผ่อนชำระ โดยการคิดดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่ออเนกประสงค์แบบมีหลักประกันมักจะคิดแบบลดต้นลดดอก (ยกเว้นสินเชื่อที่ใช้รถยนต์เป็นหลักประกัน ที่จะคิดแบบเงินต้นคงที่ (Flat Rate))
เปรียบเทียบ 3 สินเชื่อบุคคล แบบไหนดี แบบไหนเหมาะกับสถานการณ์ "โดนทุบรถ" มากที่สุด!!

หลังจากที่พอจะเข้าใจในรายละเอียดของสินเชื่อบุคคลในแต่ละรูปแบบแล้ว เรามาดูต่อกันเลยว่าสินเชื่อบุคคลแบบไหนดี แบบไหนเหมาะกับสถานการณ์ข้างต้นด้วยการเอาสินเชื่อทั้ง 3 แบบนี้มาเปรียบเทียบให้เห็นกันชัดๆ เลยว่าถ้าเราตกอยู่ในสถานการณ์เช่นนั้นเราควรเลือกที่จะใช้สินเชื่อบุคคลแบบใด