ผู้เขียน หัวข้อ: “สัญญาณเริ่มต้นสู่อันตราย” ภาวะเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด  (อ่าน 499 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 599
  • ผู้ผลิตสินค้าอุตสาหกรรม โพสฟรี
    • ดูรายละเอียด
โรคหัวใจและโรคหลอดเลือด (Coronary Artery Disease / Coronary Heart Disease หรือกลุ่มโรค CADs) คือกลุ่มของโรคที่แสดงความผิดปกติในส่วนหลอดเลือดหัวใจและส่งผลต่อการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงยังกล้ามเนื้อหัวใจและเซลล์สมอง โดยมีจุดเริ่มต้นจากการเกิดภาวะลิ่มเลือด ไขมันสะสมและอุดตันการไหลเวียนของเลือด ที่เป็นต้นเหตุของกลุ่มโรคนี้ ซึ่งหากเกิดการอุดตันหลอดเลือดแดงเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน (Heart Attack) จะส่งผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจและเซลล์สมองตาย เนื่องจากขาดออกซิเจนอย่างรุนแรง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเสียชีวิตได้ทันที

โรคของหลอดเลือดทั่วร่างกายและหัวใจ ซึ่งส่วนใหญ่โรคของหลอดเลือดจะเป็นที่หลอดเลือดหัวใจ สมอง แขน ขา และช่องท้อง โรค CVDs สิ่งสำคัญที่ต้องรู้ก่อน เพื่อการแปลสัญญาณของอาการที่อาจจะเข้าข่าย ได้แก่

1.    โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันหรือโรคหัวใจวายเฉียบพลัน

คือภาวะที่หัวใจได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ อาจเกิดได้จากสาเหตุหลายอย่าง แต่ที่พบบ่อยที่สุด คือเกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบ ไม่ว่าจะเป็นจากอาการภูมิแพ้หรือมีคราบหินปูนที่เกาะสะสมในหลอดเลือด ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกแม้ไม่ออกแรงหรือนั่งอยู่เฉยๆ ที่จะมีอาการเจ็บอาจร้าวไปที่แขน ไหล่ คอ หรือกราม อาการเจ็บใจสั่น เหงื่อออกมาก เหนื่อยง่าย ไปจนเกิดอาการช็อกหมดสติฉับพลัน
โดยมีปัจจัยที่กระตุ้นการเกิดโรค 2 ปัจจัย คือ

– ไขมันสะสมพอกผนังหลอดเลือดจนเกิดการตีบตัน เกิดการอักเสบเรื้อรังที่เซลล์หลอดเลือดมีสาเหตุแรกๆ จากภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง รองลงมาคือการบริโภคน้ำมันแปรรูปที่ผ่านกระบวนการความร้อนสูงเป็นประจำ เช่น น้ำมันพืชที่จะมีสารโอเมก้า 6 โดยทั้ง 2 สภาวะที่กล่าวนี้หากเกิดเป็นภาวะเรื้อรังนอกจากจะเป็นพิษต่อเซลล์หลอดเลือดแล้วยังส่งผลต่อเซลล์ทุกระบบในร่างกายเช่นกัน สามารถรับรู้ความเสี่ยงหรือป้องกันจากการตรวจสุขภาพในรายการตรวจ C-reactive protein (CRP) และรายการตรวจ Homocyteine (HCY) หากคุณเป็นโรคเบาหวานหรือมีภาวะไขมันในเลือดสูง ควรควบคุมใน 2 รายการนี้ให้เป็นอย่างดี เพื่อลดความเสี่ยงที่รุนแรงของโรค

– การหดตัวของหลอดเลือด



2.    โรค Rheumatic Heart

เป็นโรคที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อกล้ามเนื้อหัวใจ และลิ้นหัวใจต่างๆ จากโรคไข้ Rheumatic (Rheumatic fever) ที่เกิดจากการติดเชื้อ Streptococcal Bacteria กระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาต่อต้านเซลล์หัวใจตนเองและเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ลิ้นหัวใจตีบ


3.    โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ผู้ป่วยมีอาการที่หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะตามธรรมชาติ อาจเต้นเร็วเกินไปหรือช้าเกินไป ทำให้การสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร และอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหลอดเลือดสมองอุดตันเพิ่มมากขึ้น


4.    โรคหัวใจที่เกิดจากกรรมพันธุ์หรือตั้งแต่เกิด (Congenital Heart Disease)

เป็นโรคที่ผู้ป่วยมีประวัติการเป็นตั้งแต่เกิด ที่เกิดจากการสร้างหัวใจที่ผิดปกติในช่วงขั้นตอนการสร้างอวัยวะขณะตั้งครรภ์ของมารดา


5.    โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)

โดยสาเหตุเกิดจากเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลันจนทำให้หลอดเลือดสมองแตก ที่มีสิ่งกระตุ้นที่เรามักได้ยิน เช่น การบริโภคอาหารแปรรูปเป็นประจำหรือที่มีไขมันสูง อากาศร้อนจัด ความเครียด การสูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกฮอล์อย่างหนัก เป็นต้น ผู้ป่วยจะปวดศีรษะหรือวิงเวียนศีรษะอย่างรุนแรงโดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน ตามด้วยอาการชาหรืออ่อนแรงของแขนขา หรือใบหน้าข้างใดข้างหนึ่ง การมองเห็นที่ไม่ชัดหรือภาพเบลอ ไปจนอาการตาดับถึงแม้จะลืมตาอยู่ก็ตาม พูดไม่ชัด พูดลำบาก หรือไม่เข้าใจคำพูดหรือแปลการสื่อสารไม่ได้อย่างกระทันหัน มีการทรงตัวผิดปกติ

จะดีกว่าหากคุณสามารถสังเกตอาการในเบื้องต้นที่กำลังเสี่ยงต่อภาวะโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างทันท่วงที ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพคุณหรือการช่วยชีวิตต่อบุคคลรอบตัวคุณได้ เนื้อหาสาระเพื่อสุขภาพนี้จะนำเสนอวิธีการสังเกตที่อาจจะช่วยชีวิตคุณให้ป้องกันหรือรีบรักษาโรคโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองได้ก่อนที่จะลุกลามจนเกิดอาการที่รุนแรงต่อชีวิต โดยเราขอนำเสนอวิธีการสังเกตแบบ 2 ประเภท เพื่อให้คุณสามารถนำไปประยุกต์ให้เหมาะสำหรับคุณ ได้แก่


❈ สัญญาณเริ่มต้นของโรคจากอาการที่สำแดง

❈ สัญญาณเริ่มต้นของโรคจากอาการที่แสดงบนผิวหนัง

และสิ่งสำคัญหากคุณได้แนวทางจากที่นำเสนอการสังเกตอาการเสี่ยงโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดในเบื้องต้นนี้แล้วคุณจำเป็นต้องได้รับการตรวจประเมินสุขภาพจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญโรคต่อไป เพื่อความแม่นยำและความชัดเจนต่อการระบุโรคที่ถูกต้อง
สัญญาณเริ่มต้นของโรคจากอาการที่สำแดง

อาการของโรคหัวใจและหลอดเลือดอาจแตกต่างกันสําหรับผู้หญิงและผู้ชาย เช่นโดยผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะมีอาการอื่น ๆ พร้อมกับความรู้สึกไม่สบายหน้าอกเช่น หายใจถี่ คลื่นไส้ และมีภาวะอ่อนเพลียเรื้อรัง เป็นต้น ผู้ชายมีแนวโน้มที่จะมีอาการเจ็บหน้าอก โดยอาการที่เหมือนกันทั้งในผู้หญิงและในผู้ชาย คือ อาการเจ็บหน้าอก ความดันขึ้นหรืออาการวูบวาบบางอย่างที่เกิดขึ้นไม่ต่ำกว่า 2-3 นาทีโดยเราสามารถจำแนกเพื่อระบุลักษณะของการเริ่มสัญญาณของโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองต่อผู้ชายและผู้หญิง ดังนี้

อาการในผู้ชาย

    เวียนหัวเรื้อรัง อาจรุนแรงไปจนถึงอาการหน้ามืดเป็นลมล้มทั้งยืนได้
    ภาวะเหนื่อยล้าเรื้อรัง มีอาการเหน็บชามือแขนขาร่วมด้วย
    เจ็บ จุก สำลักที่หน้าอก พร้อมหายใจลําบาก หายใจถี่ หรือไอแห้งๆ
    หัวใจสั่น หรือเต้นไม่เป็นจังหวะ
    ภาวะบวมน้ำที่ขา เท้า หน้าท้อง หรือเส้นเลือดที่คอปูดโปน
    เหงื่อออกมากอย่างผิดปกติจนตัวเปียก แม้จะอยู่ในที่ร่ม


อาการในผู้หญิง

อาการที่เห็นได้ค่อนข้างชัดเจนในผู้หญิง จะมีอาการหัวใจวายหรืออาการช็อกหมดสติมากกว่าจะมีอาการเจ็บหน้าอกเหมือนในผู้ชาย โดยมีอาการลักษณะดังนี้

    อาการวิงเวียนศีรษะ หรือบ้านหมุน
    เกิดภาวะเหนื่อยล้าเรื้อรัง หรืออ่อนเพลียอย่างผิดปกติเมื่อทำกิจกรรมเล็กๆ น้อยๆ
    ปวดคอ กราม ลําคอ ไหล่หรือหลังส่วนบนหรือท้องส่วนบน (หน้าท้อง) หายใจถี่
    ปวดแขนข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง
    คลื่นไส้อาเจียน
    เหงื่อออกอย่างผิดปกติ แม้อยู่ในที่ร่ม
    อาหารไม่ย่อย


อาการประกอบอื่นๆ

    เสียการทรงตัว การสื่อสารที่ทำได้ยากลำบาก พูดติดขัดหรือไม่ชัด การขยับของฝีปากผิดปกติ เนื่องจากการทำงานของระบบกล้ามเนื้อและประสาทผิดปกติไม่ประสานกัน
    หน้าตาปากซีด เกิดความสับสน ที่อาจเกิดจากอุณหภูมิร่างกายแปรปรวนอาจจะหนาวหรือร้อนจัด หรือกำลังเกิดอาการช็อก
    การมองเห็นที่แย่ลงอย่างกระทันหัน หรือมองเป็นภาพเบลอ
    การนอนกรนและหยุดหายใจเป็นระยะๆ ระหว่างการนอน

อาการที่แสดงโรคของผู้หญิงอาจจะดูเหมือนแสดงความรุนแรงน้อยและไม่ชัดเจนเท่ากับอาการที่เกิดในผู้ชาย แต่จะเกิดอาการได้บ่อยกว่าในผู้หญิงและมีแนวโน้มที่จะเป็นภาวะหัวใจวายเฉียบพลันมากกว่าผู้ชาย


สัญญาณเริ่มต้นของโรคจากอาการที่แสดงบนผิวหนัง

โดยอาการที่แสดงบนผิวหนังนี้ จะมีความสอดคล้องกับโรคหากคุณนำมาพิจารณาและสังเกตร่วมกับอาการที่แสดงออกตามเพศนั้น และต้องเกิดโดยไม่มีสาเหตุหรือเกิดขึ้นโดยฉับพลัน โดยมีอาการดังนี้

1.    อาการบวมที่เท้าและขาท่อนล่าง (อาการบวมน้ำ)

อาจบ่งบอกถึง ภาวะของหัวใจที่เริ่มทำงานผิดปกติจึงทำให้เกิดของเหลวสะสมที่เท้าและขาท่อนล่าง เมื่อของเหลวสะสม คุณอาจเห็นอาการบวมซึ่งอาจขยายไปถึงขาท่อนบนและขาหนีบ แต่ทั้งนี้ก็ยังรวมถึงการทำงานผิดปกติของไต ตับ ต่อมไทรอยด์ ต่อมน้ำเหลืองได้ด้วยเช่นกัน

 
2.   รอยคล้ำสีม่วงบนผิวบริเวณเท้า

อาจบ่งบอกถึง เลือดของคุณได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ อาการนี้เรียกว่า Blue Toe Syndrome ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อมีการตีบหรืออุดตันของหลอดเลือดมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง


3.    รอยคล้ำหรือจ้ำแบบผื่นตาข่าย อาจเป็นสัญญาณ

อาจบ่งบอกถึง “ภาวะคอเลสเตอรอลอุดตัน” ที่เกิดการอุดตันในหลอดเลือดแดงขนาดเล็ก ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นทำให้เนื้อเยื่อและอวัยวะในบริเวณที่เกิดขึ้นนั้นเสียหายได้ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินว่าคุณมีความเสี่ยงที่เกิดอาการที่รุนแรงของโรคต่อไปหรือไม่


4.    ติ่งคอเลสเตอรอลที่ผุดบนผิว

มีลักษณะเป็นเหมือนเนื้องอกสีส้มหรือสีเหลือง โดยมักปรากฎที่มุมตา รอยเส้นบนฝ่ามือ หรือหลังส่วนล่างของขา อาจบ่งบอกถึง ภาวะการเกิดคอเลสเตอรอลสะสมอยู่ใต้ผิวหนังมากเกินไป ซึ่งการการมีพวกมันมากเกินไปนี้ก็มีนัยยะต่อระบบการทำงานของหัวใจและหลอดเลือดที่มีความผิดปกติ


5.    ตุ่มก้อนคลายผื่น หูด หรือเป็นเม็ดสีแดงเป็นปื้น

เป็นภาวะการสะสมของคอเลสเตอรอลที่เกิดจากระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดที่สูงมาก อาจบ่งบอกถึง ระดับคอเลสเตอรอลหรือโรคเบาหวานพุ่งสูงขึ้นอย่างรุนแรง


6.    เล็บหรือปลายนิ้วมือบวมโค้ง

อาจบ่งบอกถึง ภาวะของระบบหัวใจและหลอดเลือด การกำเริบของโรคหัวใจ หรือปัญหาที่เกี่ยวกับปอด


7.    เส้นสีแดงหรือสีม่วงใต้เล็บของคุณ

หากมีไข้สูง และหัวใจเต้นอ่อนแรงหรือไม่เป็นจังหวะ บ่งบอกถึง สัญญาณของโรคหัวใจ ที่เส้นเลือดที่ปลายนิ้วกำลังเกิดความเสี่ยงจากอาการนั้นเอง


8.    กลุ่มก้อนโปรตีนงอกขึ้นมา (Systemic Amyloidosis)

อาจบ่งบอกถึง มีการติดเชื้อในหัวใจหรือหลอดเลือด ที่เรียกว่า “ภาวะติดเชื้อบริเวณเยือบุหัวใจ ลิ้นหัวใจ และหลอดเลือด” ก้อนเหล่านี้อาจมีอาการเจ็บปวดได้ หรือเกิดขึ้นที่นิ้วมือ นิ้วเท้า ก้อนอาจอยู่ได้เป็นชั่วโมงไปจนถึงสัปดาห์แล้วก็จะหายไปเองเนื่องจากการติดเชื้อนี้เกิดจากแบคทีเรีย แต่ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาจากยาปฏิชีวนะเพื่อเลี่ยงการเกิดการติดเชื้อเรื้อรัง หากไม่หายบางครั้งก็จำเป็นต้องผ่าตัดออกเช่นกัน


9.    การเปลี่ยนสีผิวบริเวณฝ่าเท้าหรือฝ่ามือเป็นสีแดง

อาจบ่งบอกถึง มีอาการติดเชื้อในหัวใจหรือหลอดเลือดหรือภาวะติดเชื้อบริเวณเยือบุหัวใจ ร่องรอยการเกิดอาจอยู่ได้เป็นชั่วโมงไปจนถึงสัปดาห์แล้วหายไปเอง และเช่นกันการติดเชื้อนี้จำเป็นต้องได้รับการรักษา


10.    ผื่นไข้รูมาติก (ผื่นแบนมีขอบไม่คัน)

มักเกิดในเด็กเล็ก ที่เป็นสาเหตุสำคัญและเป็นจุดเริ่มต้นของโรคหัวใจหรือการทำงานของระบบหัวใจที่ผิดปกติในเด็กไปตลอดชีวิต


11.    ผื่นไข้คาวาซากิ (เป็นผื่นพร้อมไข้กับริมฝีปากแตกมีเลือดออก)

มีผลต่อหลอดเลือดมักจะพัฒนาในเด็กอายุระหว่าง 6 เดือนถึง 5 ปี อาจนําไปสู่ผลข้างเคียงสู่การเป็นโรคโรคหัวใจได้ และโรคนี้จะหายไปเองภายใน 2 สัปดาห์โดยไม่ต้องรักษ


“สัญญาณเริ่มต้นสู่อันตราย” ภาวะเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/