ผู้เขียน หัวข้อ: ฉนวนกันเสียง: แนวทางการจำแนกเครื่องวัดเสียงตามลักษณะการใช้งาน  (อ่าน 482 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 605
  • ผู้ผลิตสินค้าอุตสาหกรรม โพสฟรี
    • ดูรายละเอียด
ในการดำเนินโครงการอนุรักษ์การได้ยิน หรือการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับระดับเสียงดังเกินค่ามาตรฐานนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการวัดค่าระดับความดังของเสียง เพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในแต่ละขั้นตอนในการทำงาน เริ่มตั้งแต่การวัดข้อมูลระดับความดังของเสียงก่อนเริ่มโครงการ จนกระทั่งถึงขั้นตอนการประเมินผลโครงการ เป็นขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งกระบวนการวัดระดับความดังของเสียงในทุกกระบวนการล้วนจำเป็นต้องใช้เครื่องวัดเสียงเข้ามาเป็นองค์ประกอบในการปฏิบัติงานทั้งสิ้น โดยในประเทศไทยมีกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับเครื่องวัดเสียง ได้แก่ กฎกระทรวงแรงงานกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559 และประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง มาตรการคุ้มครองความปลอดภัยในการประกอบกิจการโรงงานเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2546 กำหนดให้การตรวจวัดในเชิงปริมาณ จำเป็นต้องมีการใช้เครื่องวัดเสียงเพื่อให้ได้ผลค่าระดับความดังของเสียงที่มีความถูกต้องแม่นยำ ซึ่งจะนำไปสู่การประเมินผลและออกแบบมาตรการสำหรับการควบคุมเสียงที่เหมาะสมต่อไป
         
เครื่องวัดเสียงที่มีการใช้ในงานสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม สามารถจำแนกได้เป็นหลายประเภท ตามรูปแบบการตรวจวัดและลักษณะเสียงที่ต้องการประเมิน โดยสามารถสรุปได้เบื้องต้น ดังนี้

1. เครื่องวัดระดับความดันเสียง (Sound level meter หรือ SLM) เป็นเครื่องมือพื้นฐานในการวัดเสียงทั้งในสภาพแวดล้อมการทำงาน และในสิ่งแวดล้อมทั่วไป มีลักษณะเป็นเครื่องวัดแบบมือถือ (Hand-held) มีไมโครโฟนติดกับเครื่อง ใช้วัดระดับเสียงที่อยู่ในช่วงความถี่ที่มนุษย์สามารถได้ยินหรือรับรู้ได้ (อยู่ในช่วง 20 Hz ถึง 20 kHz) แสดงผลเป็นค่าตัวเลขซึ่งจะนำไปใช้ในการประเมินเทียบกับค่าระดับมาตรฐานความดังของเสียงที่ใช้ในการอ้างอิง


2. เครื่องวิเคราะห์เสียงตามความถี่ (Frequency analyzer หรือ Octave band analyzer) ใช้ในกรณีที่ต้องการวัดความดังของเสียงในช่วงความถี่ที่แตกต่างกัน หรือการวัดเสียงเพื่อการวางแผนควบคุมเสียง เช่น  การเลือกใช้วัสดุดูดซับเสียง การปิดกั้นทางผ่านของเสียง เป็นต้น  โดยมีคุณสมบัติการประมวลผลแบบดิจิตอล สามารถวัดเสียงในแต่ละความถี่ได้พร้อมๆ กัน (Simultaneous analysis) มีรูปแบบการใช้งานที่หลากหลาย สามารถเลือกใช้ได้ตามแต่ละความถี่ที่เหมาะสมกับงาน

3. เครื่องวัดเสียงกระทบหรือเสียงกระแทก (Impulse or Impact noise meter) ใช้สำหรับกรณีการวัดระดับเสียงที่มีลักษณะเป็นเสียงกระทบหรือกระแทก ซึ่งเป็นเสียงดังที่เกิดขึ้นในระยะเวลาสั้น ๆ เช่น เสียงตอกเสาเข็ม เสียงระเบิดหิน เป็นต้น ซึ่งเครื่องวัดระดับความดังเสียงโดยทั่วไปอาจมีความไวต่อการตอบสนองเสียงกระแทกไม่เพียงพอ ในอดีตมีเครื่องวัดเสียงกระทบหรือกระแทกโดยเฉพาะ แต่ในปัจจุบันพบว่ามีการพัฒนาทางเทคโนโลยีโดยผสานคุณสมบัตินี้ลงในเครื่องวัดระดับความดันเสียง หรือเครื่องวิเคราะห์เสียงตามความถี่ ตามข้อ 1 และ ข้อ 2 ข้างต้น ให้สามารถวัดเสียงกระทบหรือเสียงกระแทกได้อย่างถูกต้องเหมาะสมด้วย ดังนั้น ในการอ้างอิงจากหลายแหล่งจึงไม่มีการกล่าวจำแนกถึงเครื่องวัดเสียงชนิดประเภทนี้อีกต่อไป


4. เครื่องวัดเสียงสะสม (Noise Dosimeter) ใช้ในกรณีที่ผู้ปฏิบัติงานมีการเคลื่อนย้ายตำแหน่งงานเปลี่ยนระดับเสียงที่ไม่คงที่
         
จากข้อมูลข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า เครื่องวัดเสียงสามารถแบ่งออกตามลักษณะการใช้งานได้ 4 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ เครื่องวัดระดับความดันเสียง เครื่องวิเคราะห์เสียงตามความถี่ เครื่องวัดเสียงกระทบหรือเสียงกระแทก และเครื่องวัดเสียงสะสม ซึ่งต้องเลือกนำไปใช้ให้เหมาะสมตามคุณสมบัติและข้อจำกัดของแต่ละประเภท เพื่อให้ข้อมูลค่าระดับความดังของเสียงที่วัดได้มีความถูกต้อง แม่นยำ สามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับโครงการควบคุมเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป


ฉนวนกันเสียง: แนวทางการจำแนกเครื่องวัดเสียงตามลักษณะการใช้งาน อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://noisecontrol365.com/