ผู้เขียน หัวข้อ: เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการขาย  (อ่าน 498 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 605
  • ผู้ผลิตสินค้าอุตสาหกรรม โพสฟรี
    • ดูรายละเอียด
เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการขาย
« เมื่อ: วันที่ 21 กันยายน 2023, 16:43:53 น. »
ในยุคการสื่อสารไร้พรมแดนนี้ การเสนอขายสินค้ามิใช่แต่จะใช้พนักงานขายเท่านั้น  เครื่องมืออิเลคทรอนิคส์ได้ถูกนำมาใช้  โดยคำนึงถึงความสะดวกสบายที่ลูกค้าจะได้รับเป็นสำคัญ ซึ่งทางกิจการต่างก็พยายามสรรหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อแข่งขันกันเสนอขายสินค้าในระบบไฮ – เทคเพิ่มมากขึ้น    เพราะเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายของกิจการในระยะยาว   ดีกว่าจ้างพนักงานขาย


ทางไปรษณีย์
   
กิจการจะโฆษณาขายสินค้าทางวารสาร   นิตยสาร  หนังสือพิมพ์    โดยจะมีรายละเอียดของสินค้าที่ไม่ต้องสลับซับซ้อน   ลูกค้าอ่านแล้วเข้าใจได้ง่าย  พึงพอใจในคุณสมบัติ  และราคา    เกิดความต้องการที่จะซื้อ  ก็จะกรอกข้อความในใบสั่งซื้อที่พิมพ์อยู่ในวารสาร ฯลฯ    แล้วส่งทางไปรษณีย์ไปยังกิจการ  ส่วนเงินค่าสินค้า  บางกิจการอาจให้ส่งไปพร้อมใบสั่งซื้อ  บางกิจการก็ให้ส่งใบสั่งซื้อเพียงอย่างเดียว  กรณีนี้  เมื่อกิจการส่งสินค้ามาให้  ลูกค้าจะได้รับใบแจ้งให้ไปรับสินค้า  ณ  ที่ทำการไปรษณีย์ที่ระบุ   ลูกค้าเพียงแต่นำเงินไปชำระค่าสินค้า   ณ  ที่ทำการไปรษณีย์  แล้วรับสินค้าไป   ( บริการนี้ของ ไปรษณีย์  เรียกว่า  พัสดุเก็บเงินปลายทาง  หรือ พกง. )
 

ทางโทรศัพท์
       
จะมีการใช้สื่อโฆษณา  ซึ่งส่วนใหญ่พบใน โทรทัศน์  วิทยุ   กิจการจะบรรยายคุณลักษณะของสินค้า  และ/หรือมีภาพประกอบ  แจ้งราคาพร้อมค่าใช้จ่ายในการจัดส่ง  ทำให้ลูกค้าเข้าใจได้ง่ายขึ้น  และทิ้งเบอร์โทรศัพท์ให้ติดต่อกลับในกรณีที่มีความต้องการ  เมื่อลูกค้าสนใจก็จะโทรศัพท์ติดต่อ  พร้อมแจ้งชื่อ และที่อยู่  ส่วนการจัดส่งสินค้า  ใช้บริการทางไปรษณีย์ที่เรียกว่า  พัสดุเก็บเงินปลายทาง ( พกง.) หรือบริการนำส่งของเอกชน  เช่น  FedEX เป็นต้น   เช่น การโฆษณา  ขายสินค้าประเภท  เครื่องออกกำลังกายของจอห์ช  และซาร่า  แล้วให้ โทร.ไปยังเบอร์ที่ปรากฏบนหน้าจอ  ภายในเวลา  15  นาที  จะได้สินค้าในราคาพิเศษ  เป็นต้น
                                             

 
ทาง เครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ 

เครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ ( Vending machine) เป็นเครื่องที่มีจุดประสงค์เพื่อจำหน่ายสิ่งของเช่น อาหารว่าง, เครื่องดื่ม, บุหรี่ หรือ ล็อตเตอรี หรือแม้กระทั่งทองคำ ให้กับลูกค้าโดยอัตโนมัติ หลังจากลูกค้าได้ใส่เงินหรือบัตรเครดิต เข้าสู่เครื่อง
                 
กิจการเพียงแต่นำสินค้าบรรจุใส่ตู้  แล้วตรวจความเรียบร้อยของตู้ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน  ซึ่งตู้นี้จะทำหน้าที่เป็นพนักงานขายไปในตัว  กิจการประเภทนี้  เช่น  ตู้น้ำอัดลม   กระดาษชำระ  ผ้าอนามัย    น้ำดื่ม    เครื่องซักผ้าแบบหยอดเหรียญ   เป็นต้น   ที่ตู้จะบอกวิธีการใช้ ไว้ด้วย  ซึ่งลูกค้าสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง   เพียงแต่หยอดเหรียญค่าสินค้าและบริการตามจำนวนที่กำหนด  แล้วปฏิบัติตามขั้นตอนให้ถูกต้อง   ก็จะได้สินค้าหรือบริการจากตู้ตามต้องการ

 
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การทำธุรกรรมทุกรูปแบบโดยครอบคลุมถึงการซื้อขายสินค้า/บริการ การชำระเงิน การโฆษณาโดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะเครือข่ายทางอินเทอร์เน็ต

- กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง
การดำเนินธุรกิจทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้าและบริการผ่าน และระบบสื่อสารโทรคมนาคมหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์
             
- องค์กรการค้าโลก ให้คำจำกัดความไว้ว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การผลิต
การกระจาย การตลาด การขาย หรือการขนส่งผลิตภัณฑ์และบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์
   
- คอมพิวเตอร์กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันไปเสียแล้ว  ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม   การซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ตเป็นทางเลือกใหม่ของกิจการในการเสนอขายสินค้าและบริการ  ที่สะดวก  รวดเร็ว   ข้อมูลของสินค้าครบถ้วน  และยังสามารถติดต่อกับผู้ขายในการถามตอบข้อสงสัย   หรือข่าวสารจากผู้ขายได้ตลอด 24  ชั่วโมง   ขณะนี้กิจการที่มีเว็บไซด์สำหรับทำธุรกิจการจำหน่ายสินค้าและบริการเพิ่มมากขึ้น  โดยคำนึงถึงความสะดวกสบายที่ลูกค้าจะได้รับเป็นสำคัญซึ่งทางกิจการต่างก็พยายามสรรหาวิธีการต่าง ๆ  แข่งขันกันเสนอขายสินค้า   เพราะเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายของกิจการในระยะยาว   ดีกว่าจ้างพนักงานขาย ทำให้ตลาดสินค้าขยายทั้งใน และต่างประเทศ

 
รูปแบบการทำธุรกิจ สามารถแบ่งได้ 4 รูปแบบ ดังนี้
               
1. ธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business:B2B) หมายถึง ธุรกิจที่มุ่งเน้นการให้บริการแก่ผู้ประกอบการด้วยกัน โดยอาจเป็นผู้ประกอบการในระดับเดียวกัน หรือต่างระดับกันก็ได้
               
2. ธุรกิจกับผู้บริโภค (Business to Consumer:B2C) หมายถึง ธุรกิจที่มุ่งเน้นการให้บริการกับลูกค้าหรือผู้บริโภค เช่น การขายสินค้าอุปโภคบริโภค
                 
3. ธุรกิจกับรัฐบาล (Business to Government:B2G) หมายถึง ธุรกิจการบริหารการค้าของประเทศ เพื่อเน้นการบริหารการจัดการที่ดีของรัฐบาล
               
4. ผู้บริโภคกับผู้บริโภค (Consumer to consumer:C2C) หมายถึง ธุรกิจระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค ซึ่งเป็นการค้ารายย่อย เช่น การขายของเก่าให้กับบุคคลอื่นๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต
 
 

ข้อจำกัดในการใช้  E-Commerce
               
1.    ความไม่ปลอดภัยของข้อมูล ขาดการตรวจสอบการใช้บัตรเครดิตบน Internet
ข้อมูลบนบัตรเครดิตอาจถูกดักฟังหรืออ่าน เพื่อเอาชื่อและหมายเลขบัตรเครดิตไปใช้โดยที่เจ้าของบัตรเครดิตไม่รู้ได้ การส่งข้อมูลจึงต้องมีการพัฒนาวิธีการเข้ารหัสที่ซับซ้อนหลายขั้นตอน เพื่อให้ข้อมูลของลูกค้าได้รับความปลอดภัยสูงสุด
                 
2.   ประเทศไทยยังไม่มีธนาคารพาณิชย์ที่จะทำหน้าที่รับประกันความเสี่ยง สำหรับการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ในปัจจุบันการชำระเงินยังต้องผ่านธนาคารที่เป็นของต่างประเทศ
               
3.    ปัญหาความยากจน ความด้อยโอกาสและขาดความรู้ทางเทคโนโลยี รวมทั้งขาดเครือข่ายการสื่อสาร เช่น ระบบเคเบิล ระบบโทรศัพท์ที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ไม่สามารถให้บริการ
ได้อย่างทั่วถึง จึงทำให้ชนบทที่ห่างไกลไม่สามารถเข้าถึงและใช้บริการ Internet ได้
               
4.   E-Commerce ยังมีประเด็นเชิงนโยบายที่ทำให้รัฐบาลต้องเข้ามากำหนดมาตรการ เพื่อให้ความคุ้มครองกับผู้ซื้อและผู้ขาย ขณะเดียวกันมาตรการในเรื่องระเบียบที่จะกำหนดขึ้นต้องไม่ขัดขวางการพัฒนาเทคโนโลยี
               
5.   ผู้ซื้อไม่มั่นใจเรื่องการเก็บรักษาความลับทางธุรกิจ ข้อมูลส่วนบุคคลเช่น ไม่มั่นใจว่าจะมีผู้นำหมายเลขบัตรเครดิตไปใช้ประโยชน์ในทางที่มิชอบหรือไม่
                 
6.   ผู้ขายไม่มั่นใจว่าลูกค้ามีตัวตนอยู่จริง จะเป็นบุคคลเดียวกับที่แจ้งสั่งซื้อสินค้าหรือไม่มีความสามารถในการที่จะจ่ายค่าสินค้าและบริการหรือไม่ และไม่มั่นใจว่าการทำสัญญาซื้อขายผ่านระบบ   Internet   จะมีผลถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่
               
7.   ด้านรัฐบาล ในกรณีที่ผู้ซื้อและผู้ขายอยู่คนละประเทศกัน  จะใช้กฎหมายของประเทศใดเป็นหลัก หากมีการกระทำผิดกฎหมายในการการกระทำการซื้อขายลักษณะนี้ ความยากลำบากในการติดตามการซื้อขายทาง Internet อาจทำให้รัฐบาลประสบปัญหาในการเรียกเก็บภาษีเงินได้และภาษีศุลกากร  การที่ E-Commerce ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจ พฤติกรรมของผู้บริโภค และการปฏิบัติงานของภาครัฐบาล ทำให้รัฐบาลอาจเข้ามากำหนดมาตรการเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและผู้ขายที่ใช้บริการ E-Commerce รวมทั้งให้ความสนใจในการพัฒนาบุคลากร การพัฒนาปัจจัยที่จะเพิ่มความสะดวกทางด้านโทรคมนาคมสื่อสาร
               
8.  ข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์สามารถทำสำเนาหรือดัดแปลงหรือสร้างขึ้นใหม่ได้ง่ายกว่าเอกสารที่เป็นกระดาษ จึงต้องจัดการระบบการรักษาความปลอดภัยในการอ้างสิทธิให้ดีพอ
               
9.  E-Commerce ไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับการจัดการทางธุรกิจที่ดีด้วย การนำระบบนี้มาใช้จึงไม่สมควรทำตามกระแสนิยม เพราะถ้าลงทุนไปแล้วไม่สามารถให้บริการที่ดีกับลูกค้าได้ ย่อมเกิดผลเสียต่อบริษัท
               
10. ปัญหาที่เกิดกับงานด้านกฎหมายและลายเซ็น ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเฉพาะที่จะกำกับดูแลการทำนิติกรรม การทำการซื้อขายผ่านทางการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์


ข้อดีของการใช้ E – Commerce
               
1.การซื้อขายสินค้าแบบ Online สามารถตัดปัญหายุ่งยากในเรื่องของการต่อรองราคา
และตัดปัญหาเกี่ยวกับนายหน้า เพราะมีเพียงแค่รหัสบัตรเครดิตที่เปิดบัญชีกับธนาคาร ท่านก็สามารถซื้อสินค้าผ่าน Internet ได้
               
2.ข้อมูลของลูกค้าจะถูกเก็บไว้ใน E-Mail บุคคลอื่นไม่สามารถเปิดอ่านได้นอกจาก
ผู้จัดจำหน่ายเท่านั้น
               
3.เพิ่มมูลค่าและปริมาณทางการค้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางธุรกิจ ลดต้นทุน และเปิดโอกาสให้ผู้ขายขนาดกลางและขนาดเล็ก มีโอกาสเข้าสู่ตลาดได้มากขึ้น ขณะเดียวกันผู้บริโภคก็มีทางเลือกมากขึ้นด้วย
               
4.ผู้ซื้อสามารถค้นหาข้อมูลหรือข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าและบริการต่างๆทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปถึงร้านค้า หรือผ่านพ่อค้าคนกลาง     

5.ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการกับผู้ซื้อรายอื่น หรือมีโอกาสสัมผัสกับสินค้าหรือบริการก่อนการตัดสินใจซื้อ เช่น ฟังตัวอย่างเพลง อ่านเรื่องย่อของหนังสือ หรือชมบางส่วนของ VDO ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ ทำให้ผู้ซื้อมีข้อมูลในการตัดสินใจเพิ่มมากขึ้น ในกรณี  ที่เป็นการสั่งซื้อแบบ Digital Form จะสามารถส่งข้อมูลผ่าน Internet ได้ทันที
               
6.    ผู้ขายสามารถโฆษณาขายสินค้าหรือบริการไปยังลูกค้าทั่วโลกได้ตลอด 24 ชั่วโมงทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการโฆษณา การจัดตั้งร้านค้า การจัดตกแต่งสถานที่ ค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสินค้า การกระจายสินค้า และยังสามารถลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอื่นๆได้อีกด้วย

 
เครื่องมือทางเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับงานขาย
               
1.    เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web หรือ WWW หรือ W3) คือ บริการข้อมูลข่าวสารในแบบสื่อผสมหรือมัลติมีเดีย (Multimedia)ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่มีทั้งตัวอักษร ข้อความ ภาพและเสียง ประกอบกัน สามารถเรียกร้องความสนใจจากผู้ใช้ได้ดี ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีปัจจุบันทำให้สามารถแสดงภาพเคลื่อนไหวในแบบของภาพยนตร์
               
2.    อีเมล (E-mail) คือ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronicmail) คือ วิธีการเขียนส่ง หรือรับข้อความผ่านทางเครือข่ายเชื่อมโยงระบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการส่งข้อมูลข่าวสารไปยังลูกค้า หรือบุคคลที่ติดต่อด้วย
               
3.     เมลลิ่งลิสต์ (Mailing list) คือ กลุ่มของบุคคลที่มีความสนใจเรื่องเดียวกัน ถือเป็นกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
               
4.     เว็บบอร์ด (Web Board) คือ กระดานข่าวที่ให้ผู้คนเข้ามาเสนอแนวคิดหรือพูดคุยกันในด้านการตลาด สามารถใช้เว็บบอร์ดเป็นที่สร้างกระแสได้ ซึ่งจะทำให้ผู้คนรู้จักและทราบในเรื่องที่ต้องการสื่อสาร ซึ่งถือเป็นสื่อ(Medium)ชนิดหนึ่งในการประชาสัมพันธ์
               
5.    โทรศัพท์มือถือ (Mobile Phone) WAP เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางธุรกิจให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทั่วโลกได้ด้วยบริการ”Mobile Commerce”โดยการบริหารจัดการเพียงครั้งเดียวก็จะสามารถได้เว็บไซต์ร้านค้าที่สามารถรับชมผ่านทุกช่องทาง และเข้าถึงลูกค้าได้โดยที่ลูกค้าสามารถเข้าเว็บไซต์และซื้อสินค้าของกิจการได้ทุกที่ ทุกเวลา ตลอด24ชั่วโมง ได้แก่

5.1   ดูผ่านโทรศัพท์มือถือ (Mobile Commerce)
5.2  ดูผ่าน PDA (Personal Data Commerce)
5.3   ดูผ่านคอมพิวเตอร์


เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการขาย อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://techwealth99.com/