ผู้เขียน หัวข้อ: สอนสร้างบ้าน:สร้างบ้านต้องเตรียม 7 ขั้นตอน รู้ก่อนหาผู้รับเหมา ขออนุญาตก่อสร้าง  (อ่าน 545 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 565
  • ผู้ผลิตสินค้าอุตสาหกรรม โพสฟรี
    • ดูรายละเอียด
การสร้างบ้านเอง ถือเป็นแนวคิดที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีที่ดินอยู่แล้ว และมีไอเดียที่อยากจะสร้างบ้านเอง เพื่อให้ฟังก์ชั่นภายในบ้านตอบโจทย์ความต้องการในการใช้สอยของเรามากที่สุด แต่อาจจะไม่รู้ว่าจะต้องเริ่มอย่างไร จริง ๆ แล้วการเตรียมตัวสร้างบ้าน เพื่ออยู่เองนั้นมีขั้นตอนหลัก ๆ ที่ควรรู้อยู่ 7 ขั้นตอน ลองมาดูว่ามีอะไรบ้าง เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้สนใจนำไปปรับใช้กัน


อ่านหัวข้อที่คุณสนใจ

    ขั้นตอนการเตรียมตัว
    ขั้นตอนการขออนุญาต
    ขอเลขที่บ้าน น้ำประปา ไฟฟ้า

1. ที่ดินพร้อมสร้างบ้านเอง
ขั้นตอนแรกของการสร้างบ้านเอง คือ ต้องมีที่ดินที่พร้อมจะสร้างที่อยู่อาศัย ซึ่งต้องผ่านการศึกษามาแล้วว่า อยู่ในพื้นที่ที่สามารถก่อสร้างที่อยู่อาศัยได้ มีไฟฟ้า น้ำประปาผ่าน เพื่อพร้อมในการอยู่อาศัย


2. ต้องถมที่ดินหรือไม่
สิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงก่อนการเตรียมตัวสร้างบ้านเอง คือ ที่ดินที่เรามีต้องถมหรือไม่ ซึ่งหากประเมินแล้วว่า ไม่ต้องถม ก็เริ่มต้นขั้นตอนต่อไปได้เลย แต่ถ้าพิจารณาดูแล้ว ที่ดินของเราค่อนข้างต่ำ เสี่ยงกับภาวะน้ำท่วม ก็ควรต้องถมดิน ซึ่งอาจจะถมสูงกว่าถนนคอนกรีตประมาณ 50 เมตร


3. วางแผนเรื่องงบประมาณ
อีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญของการสร้างบ้านเอง คือ งบประมาณ จริง ๆ แล้วค่าถมที่ดินก็ควรอยู่ในงบประมาณของเรา แต่หลายคนก็นิยมที่จะซื้อที่ดิน ถมที่ดินไว้ก่อน ยังไม่เริ่มก่อสร้าง ดังนั้น จึงขอวางหัวข้อเรื่องงบประมาณไว้เป็นลำดับที่ 3 โดยการวางแผนงบประมาณในการสร้างบ้าน เป็นสิ่งที่จำเป็นมาก เพราะนอกจากจะได้ทราบงบประมาณทั้งหมดที่คาดว่าจะต้องใช้แล้ว ยังเป็นแนวทางในการวางแผนทางการเงินได้ดีอีกด้วย

โดยสามารถคำนวณเงินสดที่เรามี กับเงินกู้ที่จะใช้ในการสร้างบ้านครั้งนี้ วางแผนให้รอบคอบว่า จะกู้สัดส่วนกี่เปอร์เซ็นต์ และลงเงินสดเองกี่เปอร์เซ็นต์ ซึ่งหลักในการคิดของแต่ละคนแตกต่างกัน บางคนอยากลงเงินสดเยอะ เพราะไม่ต้องการเสียดอกเบี้ย แต่บางคนมองว่า ถ้ากู้ได้หมด ก็จะกู้ เพื่อนำเงินสดที่มีสำรองไว้ใช้อย่างอื่น


4. หาแบบบ้าน/จ้างเขียนแบบ

ขั้นตอนนับจากนี้ จะเขียนในกรณีที่เราจะสร้างบ้านเองด้วยการจ้างผู้รับเหมา ไม่ได้ใช้บริการบริษัทรับสร้างบ้าน เพื่อให้เห็นภาพของการเตรียมตัวสร้างบ้าน ครบทุกขั้นตอน เพราะหากจ้างบริษัทรับสร้างบ้าน ส่วนใหญ่แล้วก็จะดำเนินการให้เราหมดทุกอย่าง รวมถึง ขั้นตอนทางราชการด้วย (แล้วแต่บริษัท บางบริษัทให้เราดำเนินการทางราชการเอง บางบริษัทก็จะดำเนินการให้ และคิดค่าบริการรวมไปแล้ว)

โดยขั้นตอนการหาแบบบ้าน/จ้างเขียนแบบ ให้ลองหาแบบบ้านที่อยากได้ หน้าตาประมาณไหน ต้องการพื้นที่ใช้สอยประมาณเท่าไหร่ ฟังก์ชั่นบ้านเป็นอย่างไร ต้องการกี่ห้องนอน กี่ห้องน้ำ ห้องนั่งเล่น ห้องทำงานด้านล่าง ห้องครัวไทย ครัวแยก เป็นต้น

หลังจากนั้น ต้องว่าจ้างเขียนแบบ เพื่อจะนำแบบนี้ไปขออนุญาตก่อสร้าง และว่าจ้างผู้รับเหมาก่อสร้างบ้านของเราตามแบบที่เราต้องการ ซึ่งแบบบ้านของเราจะต้องผ่านการเซ็นแบบรับรองโดยวิศวกรและสถาปนิก จึงจะนำไปยื่นขออนุญาตได้

หมายเหตุ หากไม่มีแบบในใจ หรือไม่อยากเสียค่าใช้จ่ายส่วนนี้ สามารถขอแบบบ้านมาตรฐานกับทางสำนักงานเขตท้องถิ่นได้ ซึ่งแบบนี้สามารถนำไปยื่นขออนุญาตก่อสร้างได้เลย


5. ขออนุญาตก่อสร้าง

ขั้นตอนการขออนุญาตก่อสร้าง

1) ยื่นคำร้องขออนุญาตก่อสร้างบ้านที่สำนักงานเขตท้องถิ่นในพื้นที่นั้น ๆ เช่น สำนักงานเขต กรุงเทพมหานคร สำนักงานเทศบาล สำนักงานเมืองพัทยา ฯลฯ ขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ของจังหวัดนั้น ๆ
2) สำนักงานเขตท้องถิ่นตรวจสอบแบบแปลน โดยเฉพาะในเขตที่ประกาศใช้กฎหมายควบคุมการก่อสร้างอาคาร หรือกฎหมายผังเมืองบ้านหรืออาคาร สิ่งปลูกสร้างทุกประเภทจะต้องได้รับอนุญาตก่อสร้างบ้านก่อน และจะต้องก่อสร้างตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต
3) ได้รับหนังสืออนุญาตให้ก่อสร้าง กรณีที่ไม่ได้รับอนุญาต อาจจะมีการให้แก้ไขในบางรายละเอียด ก็ต้องดำเนินการแก้ไข และยื่นขออนุญาตอีกครั้ง
4) เมื่อได้ใบอนุญาตก่อสร้างมาแล้ว ควรทำสำเนาทั้งเก็บไว้ ที่ตัวเอง ให้สถาปนิก วิศวกร และผู้รับเหมา หรือบริษัทรับสร้างบ้าน ดำเนินการก่อสร้างบ้านต่อไป
หมายเหตุ: ในระหว่างก่อสร้าง หากมีเหตุที่ก่อให้เกิดผลกระทบกับเพื่อนบ้าน ชุมชนใกล้เคียง เช่น เสียงดังเกินเวลาที่กฎหมายกำหนด วัสดุก่อสร้างหล่น หรือมีอุบัติเหตุ จนได้รับการร้องเรียน หน่วยงานภาครัฐอาจมีคำสั่งให้หยุดงานก่อสร้างชั่วคราว จนกว่าขั้นตอนทางกฎหมายจะแล้วเสร็จจึงจะมีคำสั่งว่า จะให้ก่อสร้างต่อ หรือให้หยุดก่อสร้างถาวร


ข้อกำหนดเกี่ยวกับระยะร่น

ลักษณะอาคาร                                 ความกว้างถนน            ระยะร่น
สูงไม่เกิน 2 ชั้น หรือ 8 เมตร                น้อยกว่า 6 เมตร           จากจุดกึ่งกลางถนนอย่างน้อย 3 เมตร
สูงเกิน 2 ชั้น หรือ 8 เมตร                   น้อยกว่า 10 เมตร         จากจุดกึ่งกลางถนนอย่างน้อย 6 เมตร
สูงเกิน 2 ชั้น หรือ 8 เมตร                   10-20 เมตร               จากเขตถนนอย่างน้อย 1 ใน 10 ของความกว้างถนน
สูงเกิน 2 ชั้น หรือ 8 เมตร                   เกิน 20 เมตร               จากเขตถนนอย่างน้อย 2 เมตร

หลักฐานยื่นขออนุญาตก่อสร้างบ้าน

1) กรอกคำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคารหรือรื้อถอนอาคาร (ข.1)
2) เอกสารแปลนบ้าน แบบบ้าน และรายละเอียดการก่อสร้าง ที่ได้มาตรฐานมีสถาปนิกและวิศวกรเป็นผู้เซ็นรับรองแบบ (กรณีที่ไม่มีสถาปนิก สามารถขอแบบบ้านมาตรฐานจากสำนักงานเขตท้องถิ่นในจังหวัดนั้น ๆ ได้)
3) หนังสือรับรองจากสถาปนิกผู้ออกแบบบ้าน ผู้ควบคุมและเอกสารจากวิศวกรงานก่อสร้าง
4) สำเนาโฉนดที่ดินที่จะก่อสร้าง หรือเอกสารสิทธิแสดงความเป็นเจ้าของที่ที่ดินผืนนั้น หรือกรณีเช่าที่ดินปลูกสร้างบ้าน จะต้องมีเอกสารแสดงสิทธิที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของด้วย
5) สำเนาบัตรประชาชน หรือทะเบียนบ้านเจ้าของอาคาร ในกรณีเป็นนิติบุคคลใช้หนังสือรับรองการจดทะเบียน กรณีที่ไม่ได้ไปยื่นขออนุญาตก่อสร้างด้วยตัวเอง จะต้องมีหนังสือแสดงการมอบอำนาจให้กับผู้ที่เป็นตัวแทนในการยื่นขออนุญาตก่อสร้าง
หมายเหตุ: จำนวนชุดของเอกสาร จะต้องสอบถามข้อมูลอัพเดตจากสำนักงานเขตท้องถิ่นที่จะยื่นขออนุญาตก่อสร้างบ้าน
ขออนุญาตก่อสร้างเรียบร้อย ก็สร้างบ้านอยู่เองได้อย่างสบายใจ


6. เริ่มก่อสร้าง
หลังจากที่ได้ใบอนุญาตก่อสร้างเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็เริ่มลงมือก่อสร้างได้ โดยก่อนหน้าที่จะมาถึงขั้นตอนนี้ ตามปกติแล้ว ควรมีการหาผู้รับเหมาไว้ก่อนล่วงหน้า เมื่อได้ใบอนุญาตมาก็พร้อมลงมือก่อสร้างได้เลย

โดยการเลือกหาผู้รับเหมา ควรมีการเขียนสัญญาการว่าจ้างให้ชัดเจน ระบุเรื่องการจ่ายเงินต่าง ๆ ซึ่งการหาผู้รับเหมาที่ไว้ใจได้ที่ก่อสร้างจนจบงาน ก็เป็นเรื่องยาก อันนี้อาจจะต้องหาคนที่ไว้ใจได้ หรือคนที่เคยมีผลงานมาก่อนแล้ว และได้รับการรับรองว่า ไม่เบี้ยว มิเช่นนั้นอาจสูญเงินเปล่า ซึ่งอาจจะต้องมีความรอบคอบในการจ่ายเงินค่าจ้าง ต้องไม่เขี้ยวเกินไป เพราะเป็นสาเหตุที่ทำให้ถูกทิ้งงานได้ และไม่หละหลวมจนเกินไป


7. ขอเลขที่บ้าน น้ำ ไฟฟ้า
เมื่อก่อสร้างบ้านไปจนเกือบแล้วเสร็จ สามารถเริ่มดำเนินการขั้นตอนของการยื่นเลขที่บ้านได้เลย หรือจะยื่นขอหลังจากที่บ้านสร้างเสร็จแล้วก็ได้ โดยหากยื่นภายหลังที่บ้านก่อสร้างเสร็จ จะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 15 วัน หลังจากที่บ้านสร้างเสร็จ ต่อจากนั้นก็นำทะเบียนบ้านที่ได้รับไปยื่นขอประปา และไฟฟ้าจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นลำดับต่อไป

นี่คือขั้นตอนของการสร้างบ้านเอง เพื่ออยู่อาศัยเองโดยภาพรวม ซึ่งในความเป็นจริง มีรายละเอียดในแต่ละส่วนอีกมากที่ผู้สร้างบ้านเองควรเรียนรู้ ตั้งแต่การวางตำแหน่งตัวบ้าน ทิศของบ้าน การรับลม การรับแดด ไปจนถึงเรื่องการเลือกวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จะใช้ภายในบ้านที่เราอาจจะต้องลงมือเองในทุกขั้นตอน แม้ว่าจะเหนื่อยสักหน่อย แต่เชื่อว่าเราจะได้บ้านในแบบที่เราต้องการ

สอนสร้างบ้าน:สร้างบ้านต้องเตรียม 7 ขั้นตอน รู้ก่อนหาผู้รับเหมา ขออนุญาตก่อสร้าง อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://realestatebb.com/